เมนู

กันว่าเป็นความประสงค์เพื่อความหลุดพ้น ได้แก่มโนรถ เราไม่ประมาทเนื่องๆ
เข้าไปสู่กุฎี คือ สุญญาคาร เพื่อต้องการสิ่งใด คือ เพื่อประโยชน์อันใด
คือ เพื่อยังประโยชน์อันใดให้สำเร็จ ได้แก่เพื่อเห็นแจ้ง มุ่งแสวงหาวิชชา 3 และ
ผลวิมุตติ ความดำริเหล่านั้นสำเร็จแล้วแก่เรา คือความดำริเหล่านั้นสำเร็จแล้ว
คือสมบูรณ์สงค์เราแล้ว ทุกประการในบัดนี้ อธิบายว่า เป็นผู้มีความดำริที่เป็น
กุศลสำเร็จแล้ว คือมีมโนรถบริบูรณ์แล้ว เพื่อจะแสดงถึงความสำเร็จ แห่ง
ความดำริเหล่านั้น ท่านจึงกล่าวบทว่า มานานุสยมฺชฺชหํ (เราได้ถอนขึ้น
ซึ่งมานานุสัย) ดังนี้. ประกอบความว่า เพราะเหตุที่เราถอนขึ้น คือละ ได้แก่
ตัดขาดซึ่งมานานุสัย ฉะนั้น ความดำริทั้งหลายเหล่านั้น ของเราจึงสำเร็จ.
อธิบายว่า เมื่อละมานานุสัยได้แล้ว ขึ้นชื่อว่า อนุสัยที่ยังละไม่ได้ไม่มี และ
พระอรหัต ย่อมชื่อว่าเป็นอันได้บรรลุแล้วอีกด้วย เพราะฉะนั้น การละ
มานานุสัย ท่านจึงกล่าวกระทำให้เป็นเหตุ แห่งความสำเร็จของความดำริ
ตามที่กล่าวแล้ว.
จบอรรถกถาสีวลีเถรคาถา
จบวรรควรรณนาที่ 6
แห่งอรรถกถาเถรคาถา ชื่อว่า ปรมัตถทีปนี

ในวรรคนี้รวมพระเถระได้ 10 รูป คือ


1. พระโคธิกเถระ 2. พระสุพาหุเถระ 3. พระวัลลิยเถระ 4.
พระอุตติยเถระ 5 พระอัญชนวนิยเถระ 6. พระกุฎิวิหารีเถระ 7. พระทุติย-
กุฎิวิหารีเถระ 8. พระรมณียกุฏิกเถระ 9. พระโกสัลลวิหารีเถระ 10.
พระสีวลีเถระ และอรรถกถา.

เถรคาถา เอกนิบาต วรรคที่ 7


1. วัปปเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระวัปปเถระ


[198] ได้ยินว่า พระวัปปเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยทัสสนะ ย่อมเห็นคนอันธ-
พาล ผู้เห็นอยู่ด้วย ย่อมเห็นคนอันพาล ผู้ไม่เห็นอยู่
ด้วย ส่วนคนอันธพาลผู้ไม่สมบูรณ์ด้วยทัสสนะ ย่อม
ไม่เห็นคนอันธพาลผู้ไม่เห็น และคนอันธพาลผู้เห็น.

วรรควรรณนาที่ 7


อรรถกถาวัปปเถรคาถา


คาถาของท่านพระวัปปเถระ เริ่มต้นว่า ปสฺสติ ปสฺโส. เรื่องราว
ของท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ
ท่านบังเกิดในเรือนมีตระกูล ในพระนครหงสาวดี ถึงความเป็นผู้รู้แล้ว
ฟังคำชมเชยว่า พระเถระรูปโน้น และรูปโน้น ได้เป็นผู้รับพระธรรมของ
พระศาสดาเป็นปฐม ดังนี้ จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ตั้งความ
ปรารถนาว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ในอนาคตกาล ขอให้ข้าพระองค์